Skip to main content
0

สารจากนักเขียน

ในยุคนี้ต้องบอกได้เลยว่าถ้าจะทำเว็บ ทำแอป ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น จนถึงระดับองค์กร การเลือกใช้บริการ Cloud แทบจะเป็นตัวเลือกหลักที่ขึ้นมาในหัวของใครหลาย ๆ คนแน่ ๆ

เขียนโดย
Kittikorn Prasertsak (Prame)
Founder @ borntoDev

บทความนี้ตีพิมพ์ และ เผยแพร่เมื่อ 21 กันยายน 2566

ไม่ว่าจะเป็นข้อดีในเรื่องของการจัดการงบประมาณ ที่สมัยนี้ก็ไม่ค่อยมีใครมาเสียเวลาตั้ง Server เอง รวมถึงหาคนมาดูแลกันทั้งวันเองแล้ว จนถึงเรื่องความปลอดภัย ประสิทธิภาพในการทำงานอะไรต่าง ๆ อีกเต็มไปหมด

ซึ่งพอเราคิดว่าจะเลือกใช้ Cloud แล้ว เราก็มาดูกันต่อว่า เราจะใช้บริการกับใคร เจ้าไหน รวมถึงการพิจารณาว่าตัวไหนเหมาะหรือไม่เหมาะกับเรานั่นเอง

 

เวลาเลือก Cloud ต้องดูอะไรบ้าง?

แม้ว่าการใช้บริการ Cloud เหมือนจะง่ายที่มีคนช่วยจัดการ วางระบบโครงสร้างอะไรให้เราหมด แต่การเลือกใช้บริการ Cloud ไม่ใช่เรื่องที่สามารถตัดสินใจได้ง่าย ๆ ในทันที

เพราะหลายครั้งหากเราเลือก และตัดสินใจผิดไป “การที่เราจะขยับขยายในอนาคต” ตลอดจนไปถึง “การย้ายออกจาก Cloud เจ้านั้น ๆ” ก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ทันที และมีต้นทุนแฝงต่าง ๆ อยู่เต็มไปหมด

ดังนั้นวันนี้เรามาลองดูปัจจัยที่ควรพิจารณากัน ว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่เราต้องรู้ก่อนเลือกใช้บริการ Cloud สักเจ้า

 

เริ่มต้นกับประสิทธิภาพ (Performance)

ควรมีการทดสอบประสิทธิภาพของ CPU, RAM, และ Disk I/O ในสถานการณ์การใช้งานจริงก่อนนำ Product เราไปวาง ควรตรวจสอบความเร็วของเครือข่ายและ Latency ระหว่าง Data Center และ ผู้ใช้ ว่าสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่

ตลอดจนถึงการตรวจสอบในสถานการณ์ที่ต้องใช้ Performance หนัก ๆ เช่น Load Test เบื้องต้น และการประเมินกรณีระบบของเราอยู่ในช่วง Peak Time ว่าบริการที่ใช้นั้นสามารถรองรับการ Scale รูปแบบใดได้บ้างนั่นเอง

ราคา (Cost)

คำนวณค่าใช้จ่ายรวมทั้ง TCO (Total Cost of Ownership) ที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการ ลองดูสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในระบบ เช่น เรื่องค่าใช้จ่ายของการใช้ Resource ต่าง ๆ ในระบบ (CPU, RAM จนถึง Storage ที่ใช้) ซึ่งตรงนี้เราสามารถลองดูเบื้องต้นได้เมื่อเข้าสู่ช่วงที่ต้องใช้ Resource สูง ๆ ว่า “ค่าใช้จ่ายมีโอกาสที่จะวิ่งไปสูงได้เท่าไหร่” นั่นเอง

และการคำนวณ ROI (Return on Investment) เมื่อคุณเป็น Product Manager หรือผู้บริหารที่ต้องเลือกใช้ Cloud ให้เหมาะกับต้นทุน และกำไรที่เราจะได้กลับมานั่นเอง

ที่ตั้งของ Data Center

ควรเลือก Data Center ที่ใกล้กับผู้ใช้งานหรือลูกค้า เพื่อลด Latency และ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพอีกทางให้กับระบบ รวมถึงพิจารณาเรื่องของ Data Sovereignty หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูล ซึ่งเรื่องนี้หลายคนมักมองข้าม แต่จะต้องบอกว่ามีความสำคัญมาก ๆ หากเราทำธุรกิจในรูปแบบองค์กรที่ต้องการความน่าเชื่อถือ และลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ความปลอดภัย (Security)

ตรวจสอบระบบความปลอดภัย รวมถึง Encryption, Firewall, และ Identity Management ตรวจสอบว่ามีการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยที่รู้จักกันทั่วโลกหรือไม่

ความยืดหยุ่นและ Scalability

ตรวจสอบว่าสามารถขยายขนาดของระบบได้ง่ายหรือไม่ ทั้งรูปแบบ Vertical Scaling ที่เป็นการเพิ่ม Spec ของ Cloud ที่เรากำลังใช้ และ Horizontal Scaling ที่เปรียบเสมือนเพิ่มเครื่องมาช่วยประมวลผล และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมากน้อยขนาดไหน

สำคัญสุด ห้ามลืมเรื่องการสนับสนุน (Support)

ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีทีมสนับสนุนที่สามารถตอบสนองต่อปัญหา และคำถามในเวลาที่รวดเร็ว รวมถึงมีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการให้คำแนะนำระหว่างใช้บริการได้อีกด้วย

ทำไม เมื่อไหร่ต้องใช้ Cloud ของไทย?

หลายครั้งเรามักได้ยินการใช้บริการ Cloud จากบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอยู่บ่อยครั้ง แต่ต้องบอกว่าการเลือกใช้บริการ Cloud ไทย ไม่ควรเป็นเรื่องที่ถูกมองข้าม และมีหลายประเด็นที่ทำให้การเลือกใช้บริการ Cloud ในประเทศเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น

ความปลอดภัย (Security)

การเก็บข้อมูลในประเทศจะช่วยลดปัญหาเรื่องของกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลข้ามชาติ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญสำหรับองค์กรที่มีข้อกำหนดเรื่องแหล่งจัดเก็บข้อมูล

ซึ่งตรงนี้จะเห็นได้ว่า หากหน่วยงานเรามีความจำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ในประเทศจริง ๆ (เช่น หน่วยงานรัฐ) การเลือกใช้ Cloud ภายในประเทศถือว่าเป็นตัวเลือกเดียวเลย นอกจากนั้นก็ยังได้เปรียบในเรื่องความเร็วในการใช้งานอีกด้วย

 

ความเร็ว และ Latency

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การใช้บริการ Cloud ในประเทศจะช่วยลด Latency หรือความล่าช้าในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งมีความสำคัญสำหรับแอปพลิเคชัน หรือบริการที่ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว

ค่าใช้จ่าย

หลายครั้งต้องบอกตรง ๆ ว่า การใช้บริการ Cloud ต่างประเทศนั้น หลายองค์กร โดยเฉพาะ SME และ Startup ขนาดเล็ก จะพบปัญหาที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชำระเงิน, การแปลงค่าสกุลเงินในช่วงอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน ซึ่งตรงนี้ก็อาจเป็นค่าใช้จ่ายแฝงด้วย

ไปจนถึงค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนสกุลเงินต่าง ๆ และการออกใบเสร็จรับเงินที่วุ่นวายในระดับนึงเลย

การใช้บริการ Cloud ในประเทศก็ช่วยมาลดปัญหาเหล่านี้ ทำให้ค่าใช้จ่ายเป็นไปได้ง่ายขึ้น และบางครั้งอาจจะถูกกว่าเมื่อเทียบกับบริการจากต่างประเทศอีกด้วย

การสนับสนุนและบริการหลังการขาย

การได้รับการสนับสนุนในภาษาไทย และในเวลาที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานในประเทศถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับองค์กรที่ต้องการการสนับสนุนที่รวดเร็วและเป็นมืออาชีพ

ดังนั้นแล้วการเลือก Cloud ในประเทศมาใช้งานก็จะมีข้อได้เปรียบหลายอย่าง ที่นอกจากจะช่วยให้องค์กรของเราประหยัดต้นทุนทั้งในเรื่องของการดูแลแล้วยังได้เปรียบในเรื่องความเร็วของผู้ใช้งานภายในประเทศอีกด้วย

 

ทำไม เมื่อไหร่ต้องใช้ Cloud ของไทย?

หากใครอยู่ในวงการ Internet หรือนักพัฒนาเว็บ นักพัฒนาโปรแกรม ผมมั่นใจว่าหลายคนรู้จักกับ Nipa Cloud อย่างแน่นอน เพราะเขาอยู่มานานมากกก (แบบกอไก่ล้านตัว) ทั้งยังเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือในการให้บริการด้าน Cloud Computing เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งทางเลือกหลักที่น่าสนใจมาก ๆ

แล้วมีบริการอะไรที่น่าสนใจบ้าง ?

  • NIPA Cloud SpacePublic cloud ประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย ที่สามารถเลือกใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง และมีเจ้าหน้าที่คนไทยพร้อมช่วยเหลือตลอดเวลา
  • Load Balancerการกระจายปริมาณงานระหว่างกลุ่ม instance เพื่อสร้าง High Availability และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แอปพลิเคชันของคุณ
  • Object Storage (S3)ระบบจัดเก็บข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตสำหรับจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลจากทุกที่ทุกเวลา

นอกจากบริการหลักที่ได้รับความนิยมสูงแล้ว ยังมีบริการเสริมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ Support ต่าง ๆ ที่มีทีมงานคอยตอบกลับอย่างรวดเร็ว, เรื่อง Security ต่าง ๆ และบริการ Consult เรื่อง Cloud โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญนั่นเอง

มาดูเรื่องผลทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพกัน

อย่างที่ย้ำตั้งแต่ต้นบทความ การเลือกใช้ Cloud ไม่ใช่ของที่เลือกแล้วจะเปลี่ยนหรืออะไรกันง่าย ๆ วันนี้เราเลยอยากพาทุกคนมาดู Whitepaper ของผลการทดสอบต่าง ๆ ด้าน Performance จาก Nipa Cloud กันว่าเป็นยังไง ?

โดยการทดสอบนี้จะใช้วิธีการนำค่าเฉลี่ยของราคาทั้งแบบ Compute Optimized และ General Purpose มาหาอัตราส่วนประสิทธิภาพต่อราคานั่นเอง สำหรับผลลัพธ์ในการวัดประสิทธิภาพของ vCPU ทาง NIPA Cloud เขาก็อ้างอิงมาจากเกณฑ์มาตรฐานของ GeekBench 5 ที่มีความน่าเชื่อถือมาใช้ในการวัดผลครั้งนี้ด้วย

และ การทดสอบในครั้งนี้ ยังได้นำค่าที่ได้จากแต่ละ VM ที่มีการทดสอบมาเฉลี่ย สำหรับ VMs ที่มีขนาดเท่ากันอีกด้วย

ข้อมูลจาก Whitepaper ของ Nipa Cloud

สำหรับผลการทดสอบจะเป็นไปดังภาพข้างต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการรายใหญ่ในตลาดระดับ Global ประสิทธิภาพต่อราคาของ Nipa Cloud จะอยู่สูงกว่าประมาณ 1.5 – 2 เท่าเลยทีเดียว

แต่แน่นอนว่าการคำนวณในลักษณะดังกล่าว อาจมีข้อสังเกตว่าประเภท และรุ่นของอุปกรณ์ รวมถึงสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ภายในระบบ Hardware ที่ใช้งานของแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกัน ซึ่งทาง Nipa Cloud ได้ใช้ AMD เป็นหลัก

 

ข้อมูลจาก Whitepaper ของ Nipa Cloud

ดังนั้นถ้าตัดผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ที่ใช้หน่วยประมวลผลของค่ายอื่นออก เหลือแค่ AMD เหมือนกัน เราก็จะพบว่าประสิทธิภาพต่อราคาที่เราจะต้องจ่ายก็ยังถึงว่าทำออกมาได้ดีมาก ๆ อยู่ดี

ข้อมูลจาก Whitepaper ของ Nipa Cloud

และสำหรับท่านใดที่อยากดูประสิทธิภาพต่อราคาของ Shared Core (เพราะก่อนหน้านี้จะเป็น Dedicated Core ทั้งหมด) ที่มีราคาประหยัดกว่ามาก ก็จะเห็นได้ว่า NIPA Cloud ก็ยังทำออกมาได้ดีกว่าผู้ให้บริการรายอื่นในตลาดอยู่มากถึง 2 และ 3 เท่าเลยเช่นกันในแง่มุมนี้

สรุป

การเลือกใช้บริการ Cloudนั้นถือว่าเป็นอะไรที่ดูเหมือนจะง่าย เหมือนว่าแต่ละเจ้าที่เป็น Cloud ก็คือ Cloud เหมือน ๆ กัน

แต่เอาจริง ๆ แล้วจะมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่เต็มไปหมดที่เราจะต้องใส่ใจ เพื่อให้ไม่เป็นปัญหา หรือ Technical Debt ภายหลัง การเลือก Cloud ที่ถูกที่สุด อาจจะไม่ได้ดีที่สุดเสมอไป แต่จะต้องดูไปถึงประสิทธิภาพที่ได้กลับมาด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ในบทความนี้ก็จะเป็นหนึ่งในมุมมองที่หวังให้ผู้อ่านได้มาลองเลือก Cloud ที่เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเอง และรูปแบบการทำงานของเรา ซึ่ง NIPA Cloud ก็เป็นอีกหนึ่งผู้ให้บริการที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยเลยครับ

พิเศษ! ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ เพียงบอกโค้ด NCS30BTD รับทันทีเครดิตใช้งาน NIPA Cloud Space 3,000 บาท ฟรี! (จำนวนจำกัด) สอบถามเพิ่มเติมโทร 086-019-4000

อ่านบทคัดย่อและดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่ 

https://nipa.cloud/th/blog/cloud-cpu-benchmark-2022-report

#จบปัญหาดับดาวน์ด้วยคลาวด์จากนิภา  #อันดับ1คลาวด์ไทยที่คนเลือกใช้มากที่สุด

*Whitepaper และ ข้อมูลทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2565 และการวิเคราะห์ครั้งนี้ได้ใช้การทดสอบที่ data center 2 แห่ง ได้แก่ สิงคโปร์ (Singapore region) สำหรับการเปรียบเทียบ dedicated core และสหรัฐอเมริกา (US region) สำหรับ shared core

** Alibaba Cloud และ Tencent Cloud ณ วันที่หาข้อมูลนั้น ไม่พบฮาร์ดแวร์ AMD ที่ผู้ให้บริการ 2 รายนี้ให้บริการ ดังนั้น ในผลลัพธ์จะมีผู้ให้บริการเพียง 4 รายเท่านั้น

ระบบฝึกทักษะ การเขียนโปรแกรม

ที่พร้อมตรวจผลงานคุณ 24 ชั่วโมง

  • โจทย์ปัญหากว่า 200 ข้อ ที่รอท้าทายคุณอยู่
  • รองรับ 9 ภาษาโปรแกรมหลัก ไม่ว่าจะ Java, Python, C ก็เขียนได้
  • ใช้งานได้ฟรี ! ครบ 20 ข้อขึ้นไป รับ Certificate ไปเลย !!
เข้าใช้งานระบบ DevLab ฟรี !เรียนรู้เพิ่มเติม

เรียนรู้ไอที “อัพสกิลเขียนโปรแกรม” จากตัวจริง
ปั้นให้คุณเป็น คนสายไอทีระดับมืออาชีพ

BorntoDev

Author BorntoDev

BorntoDev Co., Ltd.

More posts by BorntoDev

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า