Skip to main content
0

สารจากนักเขียน

จากครั้งที่แล้ว ผมได้แบ่งปันประสบการณ์ในการเขียน Flow เพื่อตรวจสอบและสร้างลำดับการใช้งานที่ดีแก่ผู้ใช้ กันไป แล้ว 2 รูปแบบนะครับ ซึ่งหากใครยังไม่ได้อ่าน สามารถอ่านได้ที่นี่เลยครับ มาออกแบบ Flow เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ User กันเถอะ ! – Part 1

ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ จากการทำ Task Flow และ Outline User Flow ทุกคนสามารถมองเห็น ลำดับและจำนวนหน้าที่ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราจะต้องเจอ จากนั้นพวกเราก็จะนำไปออกแบบเป็น  Wireframe กัน มาครั้งนี้ผมจะแบ่งปันวิธีการทำ Flow ที่เหลืออีก 2 แบบ ในฉบับของผม นั่นคือ Wireflow และ User Flow ครับ

Wireflow คืออะไร?

Wireflow คือส่วนที่ผสมระหว่าง Outline user Flow กับ Wireframe ครับ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทีม เข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองและการใช้งานในผลิตภัณฑ์ที่เราออกแบบ ช่วงหลังจากทำ Wireframe ซึ่งจะต้องแสดงให้เห็นขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องดำเนินการเพื่อให้การใช้งานสำเร็จ เรียกง่าย ๆ ว่า ขยาย Outline User Flow โดยการใช้ Wireframe แทนในส่วนของสัญลักษณ์ สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ที่หมายถึงหน้าจอ นั่นเองครับ

แล้วประโยชน์ของ Wireflow คือ ?

ในขั้นตอนของการทำ Lo-fi Prototype เพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์ก่อนจะนำไปทดสอบ การทำ Wireflow จะช่วยให้ทีมหรือลูกค้าเข้าใจขั้นตอนการใช้งานของผู้ใช้ได้ เพื่อให้การใช้งานบรรลุเป้าหมายของผู้ใช้ เป็นการทำความเข้าใจให้ตรงกันเพื่อสรุป หรือหากมีลำดับขั้นตอนไหนที่ต้องการสลับหรือปรับปรุงก็สามารถแก้ไขได้ทันที ก่อนที่จะทำเป็น Lo-fi Prototype ไปทดสอบกับผู้ใช้

จะต้องใช้ Wireflow เมื่อไหร่?

หากผลิตภัณฑ์หรือฟีเจอร์ที่เรากำลังคิดค้นนั้น เป็นการคิดค้นใหม่ และจำเป็นต้องทำ Lo-fi Prototype เพื่อนำไปทดสอบกับผู้ใช้จริงก่อน ผมจะเลือกใช้ WireFlow ในการสื่อสารกับทีมเพื่อทำความเข้าใจตรงกันก่อนที่จะไปทำต้นแบบมาทดสอบนั่นเองครับ

ก่อนจะเริ่มทำ Wireflow ต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง?

  1. Outline User Flow
  2. Wireframe

วิธีการทำ Wireflow

จากตัวอย่างใน Part 1 ที่ทดลองทำ Flow ของการ log-in คราวนี้เราลองใช้โจทย์เดียวกันในการนำมาสร้าง Wireflow กันครับ

  1. นำ Outline User Flow (จาก Part 1) มาใช้ตรวจสอบดู

2. ตรวจสอบสัญลักษณ์ที่เป็นส่วนการแสดงผล (สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน) ทั้งหมดใน Outline User Flow

3. ออกแบบ Wireframe การแสดงผลในแต่ละหน้า

4. นำ Wireframe ไปแทนที่สัญลักษณ์ที่เป็นส่วนการแสดงผล (สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน)

เพียงแค่นี้เราก็จะมี wireflow ไว้ใช้ในการสื่อสารกับทีมอื่น ๆ หรือจะใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยตรวจสอบ ตอนทำ Lo-Fi Prototype ต่อไปได้ในอนาคตนั่นเองครับ เมื่อเราได้ผลทดสอบเป็นที่น่าพอใจ เราก็จะสามารถเริ่มทำ Mock Up หรือออกแบบการแสดงผลข้อมูลที่เหมือนผลิตภัณฑ์จริง ๆ ได้ในที่สุดครับ

User Flow คืออะไร?

แม้ชื่อจะคล้ายกันกับ Outline User Flow แต่อย่าสับสนไปนะครับ สำหรับผมกระบวนการทำของ User Flow ที่ผมได้ทำในแต่ละชิ้นงานนั้น จะมีความคล้ายคลึงกับ Wireflow เพียงแต่ภาพหน้าจอที่ใส่เข้าไปจะไม่ใช่ Wireframe ครับ แต่เป็น Mockup ที่เราได้ออกแบบหน้าจอการแสดงผลต่าง ๆ ที่หน้าตาใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์จริงที่สุดนั่นเองครับ

แล้วประโยชน์ของ User Flow คือ?

หลังจากเราออกแบบ Mockup เสร็จแล้ว ในกระบวนการขั้นที่ต้องทำ Hi-Fi Prototype หลายคนอาจจะเลือกที่จะทำเป็น Prototype ที่สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ออกมา แล้วให้ผู้ใช้ทดลองกันเลยใช่ไหมครับ สำหรับผม อาจจะเลือกใช้เวลาส่วนหนึ่งมาทำ User Flow ก่อน เพื่อตรวจสอบลำดับขั้นตอนในการใช้งานผลิตภัณฑ์อีกรอบ หลังจากที่เรา ทำ Mockup หรือการแสดงผลที่เหมือนผลิตภัณฑ์จริงที่สุดแล้วนั่นเองครับ เป็นการตรวจสอบความถูกต้องไปด้วยในตัว อีกทั้งการทำ User Flow จะสามารถใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับทีมนักพัฒนาได้ด้วยครับ เพราะถ้าให้นักพัฒนาเล่นแต่ Prototype ที่กด ๆ ได้เพียงอย่างเดียว พวกเขาอาจจะมองไม่เห็นการเชื่อมโยงในแต่ละหน้าได้ครับ ดังนั้น UXUI ต้องใช้ User Flow ในการลดกระบวนการและให้นักพัฒนาได้ทำงานง่ายขึ้น User Flow ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการสื่อสารกับทีมครับ

จะต้องใช้ User Flow เมื่อไหร่?

ใช้เมื่อทีมต้องการนำเสนอลำดับการใช้งานและสื่อสารให้กับทีมนักพัฒนาหรือลูกค้าที่เกี่ยวข้องเห็นภาพรวม และขั้นตอนการใช้งาน และมองเห็นภาพรวมการออกแบบทั้งหมด

วิธีการทำ User Flow

  1. ให้นำ Use Case จากกระบวนการที่ทำ wireflow มา
  2. จากนั้นให้เรียงหน้า Mockup ที่ได้ทำไว้
  3. จากนั้นลากลูกศรเชื่อมต่อเพื่อให้เห็นลำดับและการเชื่อมโยงของแต่ละหน้าในภาพรวม

สรุป

ทั้งหมดนี้ก็เป็น 4 รูปแบบการทำ Flow ที่ผมใช้ในการออกแบบประสบการณ์ให้กับผู้ใช้ในแต่ละผลิตภัณฑ์นะครับ ซึ่งถ้าถามว่าต้องใช้ให้ครบเลยไหมเวลาจะออกแบบผลิตภัณฑ์สักชิ้นนึง ก็ขอบอกตรงนี้เลยครับว่า ไม่จำเป็นต้องใช้ให้ครบทั้ง 4 รูปแบบ การจะเลือกหยิบ Flow แต่ละแบบมาใช้ อันดับแรกเราควรตั้งคำถามก่อนว่าเราอยากมองเห็นอะไรในการแก้ไขปัญหาครับ เพราะเครื่องมือแต่ละแบบ ก็สร้างมาเพื่อแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน หวังว่าการทำ Flow ทั้ง 4 รูปแบบจะพอเป็นแนวทางในเบื้องต้นให้ทุกคนได้ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และออกแบบประสบการณ์ให้ดีต่อผู้ใช้ของพวกเรากันนะครับ

Vittaya Koedput

Author Vittaya Koedput

User Experience Designer

More posts by Vittaya Koedput
Close Menu

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า