Skip to main content
UX/UI

หลักการทำ Gamification และการนำไปใช้งานจริงในปัจจุบัน

Gamification เป็นหนึ่งในทริค หรือหลักการออกแบบที่นำมาใช้เพื่อให้ผู้ใช้งานอยากกลับมาใช้เราซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง หลาย ๆ คนอาจยังสงสัยว่าคืออะไร แล้วมีสินค้าใดนำหลักการนี้ไปใช้บ้าง สามารถติดตามอ่านได้ที่ Blog ข้างล่างนี้เลย

โดย Pitchaya Tangtanawirut
“To Understand UX , you need to understand people”

Gamification ทำไมมีคำว่า Game อยู่ในนั้น ?

เพราะมันคือการถอดหลักแนวคิดที่คล้าย ๆ กับการเล่นเกม แต่ก็ไม่เหมือนการเล่นไปเพื่อล่ารางวัลอย่างเดียว หลักการออกแบบนี้สามารถนำมาปรับใช้กับการออกแบบแอปพลิเคชัน ให้คนรู้สึกติดใจ และ กลับมาใช้ เราซ้ำ ๆ ทำให้เกิดลูปโดยที่เราไม่รู้ตัว

ลองสังเกตตัวเองตอนเราเล่นเกมดู จู่ ๆ เราก็ติดงอมแงม จนล่าได้รางวัลก็อยากกลับมาเล่นอีก 

วันนี้แอดจะพาทุกคนมาทำความรู้จักแนวคิดการออกแบบ Gamification แบบลงลึก

🌟ตั้งแต่มันมีที่มาที่ไปอย่างไร
🌟หลักการประยุกต์ใช้ Gamification สามารถทำได้อย่างไรบ้าง ?
🌟ตัวอย่าง Success Case หรือ สินค้าในโลกปัจจุบันมีที่ไหนที่เอาไปใช้แล้วบ้าง
📌และแถมปิดท้าย แหล่งความรู้เพิ่มเติมที่สามารถหาอ่านได้เกี่ยวกับ Gamification

 

ที่มาของ Gamification มาจากไหนกันบ้างนะ ? 

คำว่า Gamification นั้นมาจากโปรแกรมเมอร์ชาวอังกฤษ ที่ชื่อว่า Nick Pelling

ซึ่ง Nick ได้แปล Gamification ว่าดังนี้  “Gamification คือ การสร้างประสบการณ์ออกแบบเสมือนกับเกม เพื่อทำให้การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้สนุกและรวดเร็ว”   และหลังจากนั้นก็เริ่มมีหลาย ๆ บริษัทยักษ์ใหญ่เริ่มนำเอาไปปรับใช้ และยังเป็นที่นิยมตั้งแต่ในปี 2015 จนถึงทุกวันนี้

เพราะแนวคิดนี้มีความพิเศษอีกอย่างตรงที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสินค้า หรือ บริการแบบใดก็ได้ โดยใช้ความผสมผสานระหว่าง จิตวิทยา และการออกแบบ

 

แล้วถ้าอยากประยุกต์ใช้หลักการ Gamification สามารถทำได้อย่างไรบ้าง ?

ในโลกของ Gamification ที่แท้จริงแล้วสามารถนำองค์ประกอบหลาย ๆ แบบเข้าไปใช้ได้ ซึ่งหลากหลายแนวคิดก็จะมีวิธีการใส่ Gamification ที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น 

-Hooked Model 

-Octalysis Framework 

-Werbach’s Framework

หรือหลาย ๆ Framework ต่าง ๆ 

สำหรับวันนี้ แอดขอนำสรุปจาก Hooked Model จากหนังสือ  Nir Eyal ที่สรุปแนวคิดโดยรวม

ที่เข้าใจง่ายมาให้ทุกคนได้อ่านกัน

 

หลักการของ Hook Model นั้นประกอบไปด้วยทั้งหมด 4 กระบวนการได้แก่ :

  • Trigger ( แรงกระตุ้น ) 

    • แรงกระตุ้นที่ว่าสามารถเป็นได้ทั้งจากภายในตัวเรา (Intrinsic) ภายนอก (Extrinsic) 

      • ยกตัวอย่างง่ายเช่น ถ้าเราอยากจะสั่งอาหารในแอป แรงจูงใจภายในสามารถเป็นได้ทั้ง ความหิว อยากได้ อยากกินสิ่งนี้มานาน และ แรงจูงใจภายนอกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากการมองเห็นไก่ทอดข้างทางตอนกลับบ้านดูอร่อยเลยสั่ง หรือการโดยยิง ads ร้านอาหารตอนกลางคืน 

  • Action ( การกระทำ ) 

    • ต่อจากการโดยกระตุ้นแล้วนั้น ก็เป็นการกระทำบางอย่างที่ทำให้แรงกระตุ้นภายใน และ ภายนอกสำเร็จ 

      • ตัวอย่างต่อจากสถานการณ์ข้างบน Action ที่ว่านั้นก็สามารถเป็นได้ทั้งโทรสั่งร้านไก่ทอดที่เพิ่งเดินผ่านเข้ามา หรือ สามารถกดแอปสั่งอาหาร LINE MAN / Shopee Food มาส่งให้ที่เราได้เลยเพื่อให้เราได้ทานในตอนนั้น

  • Variable Rewards (รางวัลตอบแทน)

    • เมื่อพูดถึงรางวัล อาจจะคล้าย ๆ กับการเล่นเกมจนได้อัป rank และได้สกินสวย ๆ เพื่อให้เรากลับมาเล่นซ้ำ ๆ เรื่อย ๆ เช่นเดียวกันกับตัว Hook Model นี้ 

      • เมื่อเรากดสั่งอาหารในแอปแล้ว บางแอปอาจจะมีให้เราสะสม coins หรือ สมาชิก เพื่อให้เราไปแลกสิทธิพิเศษต่าง ๆ ในครั้งต่อไป

  • Investment (Long-Term) 

      • ต่อจากกระบวนการที่แล้วนั้นยังสามารถต่อยอดให้ผู้ใช้งานคนนั้นกลับมาใช้งานกับเราซ้ำ ๆ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องยิง ads หรือลงเงินเยอะมากมาย แต่สามารถจูงใจด้วยหลักการจิตวิทยา หรือเรียกได้ว่าเป็นการสร้าง Loyalty ให้กับลูกค้าด้วยนั่นเอง

 

Taken from NirAndFar.com

 

เคสที่เราสามารถเห็นได้ในโลกปัจจุบัน 

👏🏻E-Commerce Industry (Lazada)

เราจะเห็นได้ว่า Lazada นั้นออกแบบให้คนกลับมาใช้ กลับมาซื้อในแอปของเราอีกครั้ง ซึ่งถือว่า shopee ก็มีการใส่ความเป็นเกมเล็ก ๆไปเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น การเก็บโค้ดส่วนลดภายในเวลาที่กำหนด การสะสม coin เพื่อแลกสิทธิพิเศษต่าง ๆ Lucky Egg และ Flash Sales

Feature ที่มีภายในแอปทั้งหมดนี้ล้วนทำให้ user รู้สึกโดน Trigger ด้วยจิตวิทยาที่ว่า ฉันต้องเก็บคูปองไว้ซื้อ เพื่อที่จะได้ coin หรือเป็นสมาชิกเพื่อรับสิทธิพิเศษสำหรับการสั่งสินค้าในครั้งถัดไป

Lazada discounts

References : https://www.talon.one/blog/how-lazada-built-leading-promotion-app-strategy 

 

👏🏻Hotel Bookings (Agoda)

ออกแบบให้คนกลับมาจองเราบ่อย ๆ ยิ่งจองเข้าพักเยอะ ยิ่งอัปเลเวลขึ้นไป

โดยมีทั้งการแบ่งระดับตั้งแต่ Agoda Silver ไปจนถึง Gold Member 

การมีระบบแบบนี้อยู่ในแอปพลิเคชั่นของเรานั้น สามารถทำให้ผู้ใช้งานอยากจะมาจองกับเราบ่อย ๆ เพื่อให้ได้สิทธิพิเศษมากขึ้น ที่คล้าย ๆ กับการเล่นเกมแล้วอัป rank ไปเรื่อย ๆ นั่นเอง

Reference: Agoda Application 

 

👏🏻Education (Duolingo)

ออกแบบให้การเรียนรู้มีความสนุกขึ้น มีการแสดงทักษะต่าง ๆ ที่เราได้พัฒนาผ่าน progress bar และ badge ต่าง ๆ เปรียบเสมือนการพิชิตด่านต่าง ๆ ในการเรียนภาษาหลาย ๆ ด้าน เหมือนกับการเล่นเกมผ่านด่านมาเรื่อย ๆ ที่ถือว่าเป็น Accomplishment หรือ Small Wins ที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกภูมิใจในตัวเองทุกครั้งที่ได้เรียน

Reference  : How Duolingo utilise Gamification by Jasmine Bilham

 

👏🏻Social Media (Linkedin)

ออกแบบให้คนรู้สึกอยากมาอัปสกิล และอัปข้อมูลประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ profile สมบูรณ์ โดยผลตอบแทนจาก action ข้างบนนั้นสามารถทำให้เราเป้นที่มองเห็นได้มากกว่าในแอปพลิเคชั่นอีกด้วย

Reference  : How Linkedin Uses Gamification to Drive Engagement and Motivate Its Users by CaptainUp

 

📌Reminder สำหรับการปรับใช้แนวคิด Gamification : 

จากที่กล่าวไปข้างบนแล้ว แนวคิดนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ แบบ สำหรับหลาย ๆ industry 

การออกแบบ UX หรือสินค้าที่ดีนั้น ไม่ได้จำเป็นต้องมาจากการทำให้เหมือนเกมอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องเข้าใจความต้องการ หรือที่ Nir Eyal ได้เขียนไว้ว่าเป็น แรงจูงใจสำหรับผู้ใช้งาน 

เราในฐานะผู้ออกแบบจำเป็นต้องหาให้ได้ว่า แรงจูงใจคืออะไร และมี action แบบไหนที่เป็นไปได้บ้าง 

เพราะการออกแบบให้เสมือนเกมนั้น พูดได้ว่าเป็นเรื่องที่ยาก และ ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจอย่างยาวนาน แอดเลยแนะนำว่าก่อนที่จะนำแนวคิดใด ๆ ไปปรับใช้ ควรศึกษาและนำไป Test กับผู้ใช้งานของเราก่อนนะว่าชอบไหม ตอบโจทย์หรือเปล่า เพื่อให้สินค้าที่เราออกแบบนั้นสร้าง impact ให้กับผู้ใช้งานของเราในระยะยาวด้วย 🙂 

มาถึงตรงนี้แล้ว แอดรู้ว่าแนวคิดนี้เป็นสิ่งที่่าสนใจ และ เป็นที่จับตามองมาก ๆ ในวงการ UX ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ผ่านแหล่งความรู้ด้านล่างนี้ได้เลย แอดรวบรวมมาให้หมดแล้ว ขอให้ทุกคนสนุกกับการออกแบบนะ 🙂

 

หนังสือและแหล่งความรู้ที่เกี่ยวกับ Gamification 

  1. Hooked by Nir Eyal with Ryan Hoover

  2. Gamify: How Gamification Motivates People to Do Extraordinary Things by Brian Burke 

  3. The Grid : The Master Model Behind Business Success by Matt Watkinson

  4. 7 Examples of Website Gamification by Josh Dunford

  5. Interaction Design Foundation : What is Gamification ?    

 

 

🥰 และสุดท้ายนี้สามารถติดตามคอนเท้นท์ซีรีย์ Road to UX/UI ในเพจ borntoDev นี้เลย ! 

 

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก 

https://www.interaction-design.org/literature/topics/gamification https://blog.captainup.com/what-is-gamification-everything-you-need-to-know-to-get-started/#:~:text=The%20term%20’Gamification’%20was%20coined,Gamification%20is%20hotter%20than%20ever

https://uxplanet.org/gamification-in-ux-increasing-user-engagement-6437cbf702aa 

https://www.creativebloq.com/web-design-tips/5-examples-of-great-gamification-1233261 

https://raw.studio/blog/how-duolingo-utilises-gamification/ 

https://www.talon.one/blog/how-lazada-built-leading-promotion-app-strategy

หากคุณสนใจพัฒนา สตาร์ทอัพ แอปพลิเคชัน
และ เทคโนโลยีของตัวเอง ?

อย่ารอช้า ! เรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลเพื่ออัพเกรดความสามารถของคุณ
เริ่มตั้งแต่พื้นฐาน พร้อมปฏิบัติจริงในรูปแบบหลักสูตรออนไลน์วันนี้

BorntoDev

Author BorntoDev

BorntoDev Co., Ltd.

More posts by BorntoDev

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า