Skip to main content
Product OwnerProductivity

เส้นทางสู่ Product Owner

ก่อนอื่นเลยยยย ก็ต้องสวัสดีครับ วันนี้เราก็ยังอยู่กับบทความของ พี่ๆ MFEC กันอีกเช่นเคยอยากจะบอกว่าเนื้อหาวันนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ตำแหน่ง Product Owner หรือถ้าเปรียบเทียบให้เข้าใจก็คือ เป็นเหมือนเจ้าของ Product ที่ต้องรับผิดชอบและดูแลภาพรวมหรือวางแผนกลยุทธ์ ( ไม่ได้ไปต่อสู้เด้อออ ) เขาเรียกว่าการพัฒนา….เกริ่นมาซะเยอะเลย เรามาดูกันเลยดีกว่า Product Owner
คืออะไร และมีความน่าสนใจยังไงบ้าง ไปดูกันเลยยยย !!!

โดย คุณปวิชยา มลสิริเรืองเดช
Business Unit Manager, MFEC

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับตำแหน่งที่มีชื่อว่า Product Owner กันก่อน

ตำแหน่ง Product Owner เป็นเหมือนเจ้าของ Product ที่ต้องรับผิดชอบการดูแลภาพรวมของ Product พร้อมทั้งวางกลยุทธ์แนวทางในการพัฒนา Product ให้ตอบโจทย์หรือเกินกว่าความคาดหวังของลูกค้า  การเป็น Product Owner นั้นจะต้องดูแลแบบ
End-to-end Process มีหน้าที่ในการจินตนาการให้ออกว่า Product นี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ช่วยแก้ปัญหาอะไรบ้าง และผลลัพธ์ของการใช้งานจะออกมาเป็นแบบไหน แล้วจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาดำเนินงานตามแผนร่วมกับทีมพัฒนาต่อไป

 

ขอบเขต ในการทำงานเป็น  Product Owner ในแต่ละช่วง

  • Conceptual
    การจินตนาการถึง Product ว่าจะให้มีหน้าตาเป็นยังไง มี Feature หรือ Function อะไรบ้าง เมื่อใช้งานจริง แล้วผลลัพธ์จะออกมาเป็นยังไง ผู้ใช้จะรู้สึกยังไงถ้าได้ใช้ จากนั้นศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ ค้นหาปัญหา ออกแบบ Experience ที่ตอบโจทย์ และทดสอบเบื้องต้นว่า Feature & Function นี้ แก้ปัญหาหรือตอบโจทย์ได้จริงหรือไม่

  • Execution
    ทำจินตนาการนั้นให้เป็นจริง ในฐานะของ Product Owner คุณไม่อาจผลิตผลงานออกมาได้ด้วยตัวคนเดียวอยู่แล้ว ดังนั้นคุณจะต้องประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าของเงินทุน, ทีม Develop, ฝ่ายการตลาด หรือแม้กระทั่งกลุ่มลูกค้าที่คุณวางไว้เป็นเป้าหมาย  วางแผนการผลิต ตีกรอบ และบริหารความคาดหวังของทุกฝ่าย ให้มีจุดมุ่งหมายที่ปลายทางเดียวกัน

  • Launch

    เมื่อ Feature นั้นออกสู่ตลาดแล้ว งานของ Product Owner ยังคงมีความสำคัญ เพราะต้องตามเก็บข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อว่าสิ่งที่ทำไปนั้น สำเร็จหรือไม่และควรแก้ไขยังไง

 

คุณสมบัติของ PO ต้องมีความรู้ 3 ด้าน ดังนี้ 

  1. UX
    ที่ไม่ไช่แค่ Graphic Design แต่เป็น UX ที่หมายถึง User Experience ซึ่งหมายความว่า เราต้องมีความเข้าใจว่าคนที่จะมาใช้งาน สินค้าของเรา เขามีปฏิสัมพันธ์กับสินค้าของเรายังไงบ้าง คิดในมุมของลูกค้าว่าลูกค้ามีประสบการณ์การใช้งานสินค้านั้นมาอย่างไร และจริง ๆ แล้วเขาต้องการอะไร ใช้งานแบบไหน ใช้งานเพื่ออะไร

  2. Business
    ต้องใช้หลักความคิดเหมือนเรากำลังทำธุรกิจ วิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อวางแผนการดำเนินงานพัฒนา Product ตามขั้นตอนให้ตอบโจทย์กับธุรกิจ การมีเป้าหมายและสิ่งที่ต้องทำทั้งหมดผ่านแผนธุรกิจที่ดี จะทำให้เราสามารถลำดับความสำคัญได้ว่าควรทำอะไรก่อนหรือหลัง เห็นความสัมพันธ์ของเป้าหมาย และเข้าใจว่าควรพัฒนา Product เพื่อให้ได้อะไรกลับมา

  3. Technology
    เข้าใจและมีความรู้ในเทคโนโลยีที่จะใช้ผลิต Product นั้น ๆ Technical Skill เป็นสิ่งที่จะทำให้เราได้เปรียบ เพราะสามารถตอบคำถามของฝั่ง Business ได้ทันที ว่าสิ่งนี้สามารถทำได้หรือทำไม่ได้ และในขณะเดียวกันก็จะสามารถคิดเผื่อทีมพัฒนาได้ว่าระบบนี้ต้องทำงานอย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ Developer สามารถทำความเข้าใจและส่งมอบงานได้ตรงตามที่ต้องการจริง ๆ

ทั้ง 3 ด้านนี้ไม่ได้แปลว่า Product Owner จะต้องเชี่ยวชาญทุกอย่าง แต่ว่าต้องมีพื้นฐานความรู้ทั้ง 3 ด้าน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ และตัดสินใจเลือกในสิ่งที่เหมาะสมได้

 

สำหรับสายงานไอทีที่สามารถเติบโตขึ้นมาเป็น Product Owner ได้ส่วนใหญ่ก็จะเริ่มจาก 2 ทางนี้

Developer > System Analyst > Product Owner 

UI Designer > UX Designer > Product Owner

 

สรุปของบทความนี้

ซึ่งไม่ว่าจะมาจากพื้นฐานอะไร สิ่งที่ควรมีเป็นพื้นฐาน คือ ความเข้าใจในเรื่องของความต้องการของ User เป็นหลัก เก็บประสบการณ์จากการทำงาน จากนั้นก็ค่อย ๆ เรียนรู้เรื่องของธุรกิจ เช่น Business Model , Marketing , Sale เพื่อมาต่อยอดในอาชีพ Product Owner นี้

หากคุณสนใจพัฒนา สตาร์ทอัพ แอปพลิเคชัน
และ เทคโนโลยีของตัวเอง ?

อย่ารอช้า ! เรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลเพื่ออัพเกรดความสามารถของคุณ
เริ่มตั้งแต่พื้นฐาน พร้อมปฏิบัติจริงในรูปแบบหลักสูตรออนไลน์วันนี้

BorntoDev

Author BorntoDev

BorntoDev Co., Ltd.

More posts by BorntoDev

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า