Skip to main content
IT ProfessionalsProductivityUX/UI

มาทำ User Journey Map แบบ Step By Step กัน !

ในตอนที่แล้วเรารู้จักการทำ User Persona กันไปแล้วซึ่ง User Persona จะถูกนำมาใช้ในการทำ User Journey Map ในบทความนี้ เห็นภาพการทำงานมากขึ้นแล้วหรือยังล่ะ ? ไปเริ่มกันเลย

นอกจากความสวยงามของการ Design หน้า User Interface จะเป็นส่วนสำคัญของการทำ UX / UI Design แล้ว การ Design โดยการคำนึงถึง User Experience ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญมากเช่นกัน

ดังนั้นการทำ User Journey เป็นวิธีที่มีประโยชน์อย่างมากในการทำความเข้าใจผู้ใช้ ในหลายขั้นตอน คุณจะเห็นว่า User เข้ามายัง Product ของคุณครั้งแรกได้อย่างไร User เจออะไรบ้างในการเข้ามาในครั้งแรก อะไรทำให้ User ตัดสินใจใช้งานต่อไป หรือเลิกใช้ Product ของเราไปเลย

โดย Theechaya Sitthisinthanachai
Who am I Depending on what I do.

ขั้นตอนในการทำ User Journey Map

  1. Choose a scope ( เลือกขอบเขต )
    ขอบเขตของแผนที่การเดินทางของผู้ใช้มีทั้งแบบ End-To-End ไปจนถึงแผนที่ ที่มีรายละเอียดมากขึ้น โดยเน้นไปที่การโต้ตอบเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง (เช่น การจ่ายบิล)

     

  2. Create a user persona (สร้างตัวตนของผู้ใช้ )

ที่มา : https://bit.ly/3qmf51C

  1. Define scenario and user expectations (กำหนดสถานการณ์และความคาดหวังของผู้ใช้)
    คือ การจำลองสถานการณ์ที่ User จะคาดหวังต่อ Product ของเรา ตัวอย่างเช่น การเรียกรถ Taxi โดยใช้ Application บนมือถือและคาดหวังว่าจะได้รถภายใน 5 นาทีหรือน้อยกว่านั้น นั่นเอง

     

  2. Create a list of touchpoints ( สร้างรายการจุดสัมผัส )

    จุดสัมผัส คือ การกระทำของผู้ใช้และการโต้ตอบกับ Product 

    ตัวอย่างเช่น ต้องการ’ซื้อของขวัญ’ อาจตั้งคำถามว่า — ซื้อออนไลน์หรือซื้อในร้านค้า จุดนั้นคือ Tochpoint นั่นเอง

     

  3. Take user intention into account ( คำนึงถึงความตั้งใจของผู้ใช้ )

    อะไรเป็นแรงจูงใจให้ผู้ใช้โต้ตอบกับ Product ของคุณ ?

    ผู้ใช้ต้องการแก้ปัญหาอะไร จึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของคุณ ?

    การตั้งคำถามเหล่านี้จะทำให้เราสามารถเข้าใจผู้ใช้ได้มากขึ้น เพื่อการ Design Experience ที่ดี

     

  4. Sketch the journey ( ร่างการเดินทาง )
    โดยในขั้นตอนนี้เราจะใช้การทำ Story Board มาเล่าเรื่องการเดินทางของ User กัน เพื่อให้เข้าใจง่ายและเห็นภาพตรงกันมากขึ้น

    สตอรี่บอร์ด (Story Board) คือ การเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูด และแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน-หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างแอนิเมชันหรือ หนังขึ้นมาจริงๆ

    เริ่มจากรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่คุณมี และร่างภาพที่ User เจอ ในแต่ละขั้นตอน

  5. Consider a user’s emotional state during each step of interaction ( พิจารณาสภาวะทางอารมณ์ของผู้ใช้ในแต่ละขั้นตอนของการโต้ตอบ )
    คำถามคือ ? ผู้ใช้รู้สึกอย่างไรเมื่อโต้ตอบกับ Product ของคุณ

  6. Validate and refine user journey ( ตรวจสอบและปรับแต่งการเดินทางของผู้ใช้ )แผนที่การเดินทางควรส่งผลให้เกิดการเล่าเรื่องที่อยู่บนพื้นฐานความเป็นความจริง แม้ว่าการเดินทางของผู้ใช้จะขึ้นอยู่กับการวิจัยผู้ใช้ การตรวจสอบความถูกต้องก็เป็นสิ่งสำคัญ ใช้ข้อมูลจากเซสชัน การทดสอบ การใช้งาน และการวิเคราะห์ Applicationเพื่อให้แน่ใจว่าการเดินทางของคุณคล้ายกับกรณีการใช้งานจริง

     

    รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ของคุณเป็นประจำ ตัวอย่างเช่น คำติชม หรือ Feedback ของผู้ใช้งานคือสิ่งที่สามารถใช้เพื่อปรับปรุงความเข้าใจของคุณเกี่ยวกับเส้นทางของผู้ใช้

สิ่งสำคัญต้องจำไว้ว่า เป้าหมายของการสร้างแผนที่การเดินทางของผู้ใช้คือการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน นั่นคือเหตุผลที่เมื่อสร้างแผนที่การเดินทางของผู้ใช้แล้ว ให้แชร์กับเพื่อน ๆ ของคุณ ทำให้ทุกคนในทีมของคุณมองเห็นประสบการณ์ทั้งหมดจากมุมมองของผู้ใช้และนำข้อมูลนี้ไปใช้ในขณะที่สร้างผลิตภัณฑ์ แล้วพบกันใหม่ในตอนหน้า จะเป็นอะไรรอติดตามกันได้เลย !

และสำหรับใครที่อยากทำ Storyboard เรามี Template แจกไว้ให้แล้วนะ ! สามารถคลิกที่นี่ >> https://ugc.futurelearn.com/uploads/files/5d/77/5d77714c-781e-4393-bfb4-7d8325b49b42/2.6.Storyboarding_template.pdf

หากคุณสนใจพัฒนา สตาร์ทอัพ แอปพลิเคชัน
และ เทคโนโลยีของตัวเอง ?

อย่ารอช้า ! เรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลเพื่ออัพเกรดความสามารถของคุณ
เริ่มตั้งแต่พื้นฐาน พร้อมปฏิบัติจริงในรูปแบบหลักสูตรออนไลน์วันนี้

BorntoDev

Author BorntoDev

BorntoDev Co., Ltd.

More posts by BorntoDev

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า