Skip to main content
UX/UI

8 ขั้นตอนการออกแบบ UX/UI อย่างไร? เพื่อให้ตอบโจทย์กับองค์กร

           ในปัจจุบันแนวทางการออกแบบ UX หรือ User Experience และ UI หรือ User Interface มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์เราต้องการที่จะสื่อสาร รับสาร กันมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะออกแบบอย่างไร เพื่อสื่อสารถึงวิธีการใช้งานเพื่อให้ผู้ใช้งานใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องเปิดคู่มือการใช้งาน และลดการโทรมาสอบถามปัญหาเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน

           ป้ายบอกทางจะออกแบบอย่างไรให้ผู้ที่อ่านเข้าใจได้ง่ายไม่งง ทำไปไม่เสียงบประมาณโดยใช่เหตุ ไม่เว้นแม้กระทั้งในวงการไอทีที่จะได้กล่าวถึงต่อไป ที่พูดได้ว่าเน้นการสื่อสารกันระหว่างผู้สื่อสารและผู้รับสารเป็นหลัก

      ดังนั้นถ้าต้องการส่งสารอะไรสักอย่างไปยังผู้รับสาร เพื่อให้ผู้รับสารนอกจากจะเข้าใจแล้วยังรู้สึกดีกับสารที่เราส่งให้แล้วนั้น การนำหลักการ UX/UI มาเป็นหลักการในการออกแบบก็จะทำให้การสื่อสารระหว่างกันนั้นได้ผลดีมากยิ่งขึ้น

โดย คุณนิติภัณฑ์ กันทะวัง
Customer Strategic Consultant, MFEC

เรามาความรู้จักกับคำว่า UX หรือ UI กันก่อนดีกว่า 

UX หรือ User Experience ประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้ เช่น ความเร็วในการแสดงผล การหาสิ่งที่สนใจได้อย่างง่ายดาย การใช้งานไม่ซับซ้อน เป็นต้น การออกแบบ UX ที่ดีคืออะไร นั่นก็คือ การนำประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งาน มาเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบของสิ่งหนึ่ง เพื่อให้ผู้ใช้งานใช้งานแล้วรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของวิถึการใช้ชีวิตของผู้ใช้งาน รู้สึกชอบ รู้สึกดีกับการใช้งานเพิ่มมากขึ้นและสิ่งที่สำคัญคืออยากกลับมาใช้งานใหม่ ทั้งนี้ทั้งนั้นการออกแบบ UX ที่ดีนั้นก็ต้องมี UI ที่ดีด้วย

UI หรือ User Interface คือ ส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน เช่น รูปแบบการจัดวาง โทนสี ความสวยงามน่าดึงดูใจ เป็นต้น การออกแบบ UI ที่ดีคืออะไร หลักๆ ก็คือการนำ UX ที่ดีมาทำการออกแบบให้ดูน่าสนใจ เพิ่มเติมความรู้สึกน่าใช้งานให้มากขึ้นให้ดูมีชีวิตชีวา ดึงดู มีความน่าสนใจ นอกจากนั้นยังทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือ และทำให้รู้สึกถึงตัวตนภาพลักษณ์ของผู้ที่ต้องการสื่อสารได้อีกด้วย

จากความหมายของ UX/UI ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นจะเห็นได้ว่า ทั้ง 2 ส่วนนี้ มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นมีความสวยงามและน่าใช้งานมากที่สุด

      หากถามว่าขั้นตอนการออกแบบ UX/UI เพื่อให้ตอบโจทย์องค์กรคืออะไร ในบทความนี้จะเน้นเรื่องการออกแบบแอปพลิเคชันเป็นหลัก เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของ MFEC ถึงแม้จะอยู่ในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ แต่สิ่งที่ลูกค้าไว้วางใจให้ MFEC เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรของลูกค้านั่นคือการพัฒนาในส่วนของแอปพลิเคชันนั่นเอง และในการออกแบบแอปพลิเคชันนั้นจากประสบการณ์ของ MFEC มีหลักการในการออกแบบดังต่อไปนี้

 

8 ขั้นตอน ในการออกแบบ UX/UI ที่ดี

ใน 8 ขั้นนตอนนั้น จะแบ่งออกเป็นขั้นตอนการออกแบบ UX อยู่ 6 ขั้นตอน และออกแบบ UI อยู่ 2 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนในการออกแบบ UX

1. Empathy คือการเข้าถึงความรู้สีกและขั้นตอนการกระทำของผู้อื่น โดยไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ได้แก่นแท้ของปัญหาเหล่านั้นที่ผู้ใช้งานต้องเผชิญอยู่ การสังเกตุรวบรวมข้อมูลในส่วนนี้หลักๆ สามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  • ผู้ใช้งานที่มีข้อมูล ปัญหา และทราบความต้องการของตนเองอยู่แล้ว

วิธีการที่จะได้ข้อมูลเหล่านั้นมาจะใช้วิธีการ User Interview เป็นหลัก เพื่อสอบถามปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งาน และเก็บรวบรวมข้อมูลมาทำการออกแบบและแก้ปัญหานั้นๆ ต่อไป

  • ผู้ใช้งานยังไม่เคยมีข้อมูลใดๆ มาก่อน อยากให้ทางผู้ออกแบบ UX/UI เป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ปัญหา และหาความต้องการให้กับทางผู้ใช้งาน ถ้าหากเป็นผู้ใช้งานประเภทนี้ก็จะเลือกใช้วิธีการทำ Survey, Observing, Sampling และ Simulation เป็นต้น

      ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้งานประเภทไหนสามารถใช้วิธีการร่วมกันได้ เช่น บางทีผู้ใช้งานกลุ่มที่มีข้อมูลอยู่แล้วนั้นอาจจะทำในส่วนของการทำ Sampling ไปด้วย เพื่อทดสอบถว่า ข้อมูลที่มีนั้นมีประโยชน์ นำไปใช้งานได้ดี หรือได้จริงหรือไม่ เป็นต้น

2. Define หลังจากผ่านขั้นตอนการ Empathy แล้วผู้ออกแบบก็จะทราบถึงปัญหาความต้องการต่างๆ ขั้นตอนการ Define คือการสรุปข้อมูล แจกแจงหัวข้อของปัญหา เพื่อจะได้จัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาที่ต้องแก้ไข ขั้นตอนนี้จะเป็นการทำพร้อมๆ กันระหว่างผู้ออกแบบและผู้ใช้งาน สามารถทำได้โดยวิธีการ Brainstorming, Card sorting, filter and summarize problem เป็นต้น

3. Ideate เพื่อสรุปรวบรวมทั้ง 2 ขั้นตอนที่ผ่านมา ว่าผู้ออกแบบเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานอย่างไร จัดลำดับความสำคัญประเภท ปัญหาไว้อย่างไร และในขั้นตอนนี้คือนำข้อมูลเหล่านั้น มาหาวิธีการแก้ปัญหาตอบสนองความต้องการผู้ใช้งานได้อย่างไร สามารถทำได้โดยวิธีการ Brainstorming, Card sorting, Create presona, Create Journey map เป็นต้น

4. UX Flow เมื่อผู้ออกแบบทราบวิธีการแก้ปัญหา ลักษณะของผู้ใช้งาน และพฤติกรรมของผู้ใช้งานจากขั้นตอนการIdeate แล้ว ผู้ออกแบบก็จะสามารถจัดทำ UX Flow คือ Step การใช้งานต่างๆ ให้เห็นภาพรวมขั้นตอนการใช้งานทั้งหมด เพื่อสามารถพิจารณาตัดหรือลดทอนขั้นตอนที่ไม่สำคัญออกไป แต่ระบบยังคงใช้งานได้เหมือนเดิม

5. Prototype หลังจากที่ผู้ออกแบบทราบ ux flow ขั้นตอนการใช้งานหลักๆ แล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการออกแบบ Prototype ที่ผู้ออกแบบสามารถเจาะเข้าไปในแต่ละ step แต่ละหน้าจอควรจะมีลักษณะและองค์ประกอบอย่างไร เพื่อให้มองเห็นภาพหน้าจอที่ใกล้เคียงความจริงมากขึ้น

6. Usability Testing ขั้นตอนการทดสอบ จะใช้หน้าจอที่ใกล้เคียงกับหน้าจอที่ใช้งานจริงจากกระบวนการCreate Prototype มาเป็นสิ่งที่จะให้ผู้ใช้งานได้ทดลองใช้งาน โดยขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญUX ที่ดีจะต้องผ่านกระบวนการเหล่านี้ก่อน ซึ่งขั้นตอนนี้ทำได้โดย

  • Plaing test การวางแผนการทดสอบเพื่อให้ทราบผลลัพธ์ตามเป้าที่ตั้งไว้

  • Recruit participant จัดหากลุ่มคนเป้าหมายเพื่อทำการทดสอบ

  • Prepare materials จัดเตรียมอุปกรณ์และสิ่งที่ต้องการทดสอบ

  • Set up environment จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทดสอบ

เมื่อจัดเตรียมทุกอย่างแล้วก็ทำการทดสอบ ระหว่างที่มีการทดสอบจะไม่มีการชี้นำผู้ใช้งานใดๆทั้งสิ้น มีการสังเกตุพฤติกรรม อารมณ์ ระยะเวลาที่ผู้ใช้งานใช้ไปในแต่ละหน้าจอ จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการทดสอบมาทำ Dat Analyze และ Report Result เพื่อหาข้อสรุปว่าสิ่งที่ทำไปทั้งหมดทุกหน้าจอ ทุกขั้นตอนดีแล้วหรือยัง หรือแต่ละจุดควรกลับไปแก้ไขในขั้นตอนไหนบ้าง เป็นต้น

 

ขั้นตอนในการออกแบบ UI

จะเป็นการนำ Prototype ที่ผ่านการทดสอบแล้วจริงๆ มาทำขั้นตอนการออกแบบ UI และขั้นในการออกแบบ UI หลักๆ จะมีขั้นตอนดังนี้

  1.  Mood board เป็นสื่อกลางที่สื่อสารกันระหว่างผู้ออกแบบและผู้ใช้งาน ให้มองเห็นความรู้สึกทางอารมณ์ สไตล์ของงานนั้นๆ ทิศทาง โทนสี แสง เป็นต้น ที่ผู้ออกแบบจะทำการออกแบบให้กับผู้ใช้งานได้เห็นและรับรู้ เข้าใจภาพรวมทั้งหมดตรงกัน

การจัดทำ Mood board นี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานที่ยังไม่มี CI หรือ Corporate Identity เป็นของตนเอง แต่สำหรับผู้ใช้งานที่มี CI เป็นของตนเองแล้วนั้นก็สามารถอ้างอิง Mood & Tone ต่างๆ ตาม CI ก็จะทำให้การทำงานในส่วนนี้นั้นทำได้ง่ายขึ้น

  1.  Visualize คือการนำMood & Tone มาทำการออกแบบร่วมกันPrototype เพื่อให้ได้ UX และ UI สวยงามตามที่ได้ออกแบบและพัฒนามา และนำไปให้ Developer สามารถนำไปพัฒนาต่อ เพื่อให้สามารถนำมาใช้จริงได้

 

จากข้อมูลดังกล่างสรุปว่า หลังจากได้ทำตามกระบวนการออกแบบทั้ง UX และ UI ทั้งหมดนี้ของ MFEC แล้วนั้น เราก็จะได้แอปพลิเคชันที่มี Storytelling หลักการที่มาและเหตุผล ที่ช่วยเพิ่ม Value & Preformace ในงานออกแบบหรือแอปพลิเคชันเพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานได้

หากคุณสนใจพัฒนา สตาร์ทอัพ แอปพลิเคชัน
และ เทคโนโลยีของตัวเอง ?

อย่ารอช้า ! เรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลเพื่ออัพเกรดความสามารถของคุณ
เริ่มตั้งแต่พื้นฐาน พร้อมปฏิบัติจริงในรูปแบบหลักสูตรออนไลน์วันนี้

BorntoDev

Author BorntoDev

BorntoDev Co., Ltd.

More posts by BorntoDev

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า